วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สุภาษิต สำนวนไทย หมวด น-บ-ป-ผ

สำนวนสุภาษิตไทย หมวด น.
เนื้อเต่ายำเต่า หมายถึง นำเอาทรัพย์สินส่วนที่เป็นกำไรหรือดอกเบี้ยกลับไปลงทุนอีกครั้ง โดยไม่ต้องใช้ทุนเดิม
ในน้ำมีปลาในนามีข้าว หมายถึง ดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์
นกน้อยในกรงทอง หมายถึง มีความเพียบพร้อมแต่ขาดอิสระ
นกสองหัว หมายถึง คนที่ทำตัวฝักใฝ่เข้าด้วยทั้ง 2 ฝ่ายที่ไม่เป็นมิตร โดยหวังประโยชน์เพื่อตน
นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น หมายถึง ไม่รู้เรื่องราว, ไม่รู้อีโหน่อีเหน่
นางนกต่อ หมายถึง หญิงที่ถูกใช้ให้ไปล่อคน (เหยื่อ) มาติดกับดัก
น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง หมายถึง พูดมากแต่ได้เนื้อหาสาระน้อย
น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า หมายถึง การพึ่งพาอาศัยกัน, ความสามัคคี
นายว่าขี้ข้าพลอย หมายถึง พลอยพูดผสมโรงติเตียนผู้อื่นตามนายไปด้วย
น้ำกลิ้งบนใบบอน หมายถึง คนใจไม่แน่นอน กับกลอก
น้ำขึ้นให้รีบตัก หมายถึง มีโอกาสดีควรรีบทำ
น้ำขุ่นไว้ในน้ำใสไว้นอก หมายถึง แม้จะไม่พอใจก็ยังแสดงสีหน้ายิ้มแย้ม
น้ำซึมบ่อทราย หมายถึง หามาได้เรื่อยๆ
น้ำตาลใกล้มด หมายถึง ชายหญิงที่ใกล้ชิดกันมากย่อมห้ามใจไม่ให้รักกันได้ยาก
น้ำท่วมปาก หมายถึง พูดไม่ออกเพราะเกรงจะมีภัยแก่ตนหรือผู้อื่น
น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ หมายถึง ฝ่ายข้างน้อยย่อมแพ้ฝ่ายข้างมาก
น้ำนิ่งไหลลึก หมายถึง คนที่มีท่าหงิม ๆ มักจะมีความคิดลึกซึ้ง
น้ำผึ้งหยดเดียว หมายถึง เรื่องเล็กๆ ก็ทำให้มันเป็นเรื่องใหญ่ได้
น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า หมายถึง การพึ่งพาอาศัยกัน, ความสามัคคี
น้ำมาปลากินมดน้ำลดมดกินปลา หมายถึง ทีใครทีมัน
น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย หมายถึง คำพูดที่ไพเราะอ่อนหวาน ซึ่งถูกใจผู้ฟัง แต่อาจเป็นโทษเป็นภัยได้
น้ำลดตอผุด หมายถึง เมื่อหมดอำนาจ ความชั่วที่ทำไว้ก็ปรากฏ
น้ำหนึ่งใจเดียวกัน หมายถึง มีความคิดเห็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
นิ้วไหนร้ายก็ตัดนิ้วนั้น หมายถึง คนใดไม่ดี ก็ตัดออกไปจากหมู่คณะ

สำนวนสุภาษิตไทย หมวด บ.
แบไต๋ หมายถึง ตีแผ่ บอกความลับให้คนอื่นรู้
บ่นเป็นหมีกินผึ้ง หมายถึง คนที่ชอบบ่พึมพำอยู่เสมอ เห็นอะไรก็บ่นไปหมด
บนบานศาลกล่าว หมายถึง ขอร้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ
บอกศาลา หมายถึง ตัดขาด ไม่นับว่ามีความสัมพันธ์ต่อกันอีกต่อไป
บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น หมายถึง รู้จักผ่อนปรนเข้าหากัน มิให้กระทบกระเทือนใจกัน
บ่างช่างยุ หมายถึง คนที่ชอบพูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกกัน
บ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน หมายถึง สถานที่ตนเคยอยู่อาศัยมาก่อน
บ้านเมืองมีขื่อมีแป หมายถึง บ้านเมืองหรือประเทศย่อมมีกฎหมายคุ้มครอง
บ้านแตกสาแหรกขาด หมายถึง ครอบครัวหรือบ้านเมืองต้องกระจัดกระจายพลัดพรากกัน
บานปลาย หมายถึง ขยายออกไปมากกว่าที่ตั้งใจไว้เดิม
บ้านป่า เมืองเถื่อน หมายถึง บ้านเมืองที่ไม่มีกฎระเบียบบังคับในการอยู่ร่วมกัน
บ้าหอบฟาง หมายถึง บ้าสมบัติ เห็นอะไรเป็นของมีค่าจะเอาทั้งนั้น
บ้าห้าร้อยจำพวก หมายถึง บ้ามากมายหลายประเภท
สำนวนสุภาษิตไทย หมวด ป.
เป็ดขันประชันไก่ หมายถึง มีความรู้ความสามารถน้อย แต่อวดตัวแข่งกับผู้ที่มีความรู้ความสามารถสูง
เป็นปี่เป็นขลุ่ย หมายถึง ถูกคอกัน, เข้ากันได้ดี
ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ หมายถึง ปล่อยศัตรูไปอาจกลับมาทำร้ายภายหลังอีก
ปล่อยไก่ หมายถึง แสดงความโง่ออกมา
ปลาใหญ่กินปลาเล็ก หมายถึง คนหรือผู้ใหญ่ที่มีอำนาจ กดขี่ข่มเหงผู้อ่อนแอหรือผู้น้อย
ปลาข้องเดียวกัน หมายถึง คนที่อยู่ร่วมกันหรือเป็นพวกเดียวกัน
ปลาหมอตายเพราะปาก หมายถึง คนที่พูดพล่อยจนได้รับอันตราย
ปล้ำผีลุก ปลุกผีนั่ง หมายถึง พยายามทำให้เกิดเรื่องราวที่ไม่ดีขึ้นมา
ปลุกผีกลางคลอง หมายถึง ทำในสิ่งที่ไม่ถูกไม่ควร
ปลูกเรือนคร่อมตอ หมายถึง กระทำสิ่งซึ่งล่วงล้ำ ก้าวก่ายสิทธิของผู้อื่น
ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน หมายถึง ทำตามความพอใจของผู้ที่จะได้รับผลโดยตรง
ปอกกล้วยเข้าปาก หมายถึง ง่าย, สะดวก
ปั้นน้ำเป็นตัว หมายถึง สร้างเรื่องเท็จให้เห็นเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา
ปากเป็นเอกเลขเป็นโท หมายถึง การพูดจาสำคัญกว่าวิชาหนังสือ
ปากเปียกปากแฉะ หมายถึง ว่ากล่าวตักเตือนซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็ยังไม่ได้ผลตามที่มุ่งหมาย
ปากโป้ง หมายถึง ชอบพูดเปิดเผยสิ่งที่ไม่สมควรออกมา
ปากไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม หมายถึง ยังเป็นเด็ก
ปากคนยาวกว่าปากกา หมายถึง คนสามารถแพร่ข่าวได้เร็วกว่ากา
ปากฉีกถึงใบหู หมายถึง พูดเยอะมาก พูดจนเบื่อ พูดซ้ำแล้วซ้ำอีก
ปากตำแย หมายถึง ปากอยู่ไม่สุข ชอบพูด ชอบฟ้อง
ปากปราศรัยน้ำใจเชือดคอ หมายถึง พูดดีแต่ใจคิดร้าย
ปากปลาร้า หมายถึง ชอบพูดหรือด่าด้วยคำหยาบคาย
ปากมาก หมายถึง พูดมาก พูดซ้ำๆซากๆ
ปากว่าตาขยิบ หมายถึง พูดอย่างหนึ่ง แต่ทำอีกอย่างหนึ่ง
ปากว่ามือถึง หมายถึง พอพูดก็ทำเลย
ปากสว่าง หมายถึง ชอบพูดเปิดเผยเรื่องของผู้อื่น
ปากหนัก หมายถึง ไม่ใคร่พูดขอร้องต่อใครๆ ไม่ใคร่ทักทายใคร
ปากหวานก้นเปรี้ยว หมายถึง พูดจาอ่อนหวานแต่ไม่จริงใจ
ปากหอยปากปู หมายถึง ชอบนินทา ม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย
ปิ้งปลาประชดแมว หมายถึง ทำประชดหรือแดกดัน ซึ่งมีแต่จะเสียประโยชน์
ปิดทองหลังพระ หมายถึง ทำความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่อง เพราะไม่มีใครเห็นคุณค่า
ปิดประตูตีแมว หมายถึง รังแกคนไม่มีทางสู้ และไม่มีทางหนีรอดไปได้
ปีกกล้าขาแข็ง หมายถึง พึ่งตัวเองได้
สำนวนสุภาษิตไทย หมวด ผ.
แผลเก่า หมายถึง ความเจ็บช้ำที่ฝังใจอยู่ไม่รู้ลืม
ไผ่ลู่ลม หมายถึง โอนอ่อนไปตามสถานการณ์
ผักชีโรยหน้า หมายถึง การทำความดีเพียงผิวเผิน
ผัดวันประกันพรุ่ง หมายถึง ขอเลื่อนเวลาออกไปครั้งแล้วครั้งเล่า
ผัวหาบเมียคอน หมายถึง ช่วยกันทำมาหากินทั้งผัวทั้งเมีย
ผ้าขี้ริ้วห่อทอง หมายถึง คนมั่งมีแต่แต่งตัวซอมซ่อ
ผีไม่มีศาล หมายถึง ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
ผีซ้ำด้ำพลอย หมายถึง ถูกซ้ำเติมเมื่อพลาดพลั้งลง หรือเมื่อคราวเคราะห์ร้าย
ผึ้งแตกรัง หมายถึง ไปคนละทิศละทาง
ผู้ร้ายปากแข็ง หมายถึง ดึงดัน ดื้อ ไม่ยอมรับความจริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น